วิธีการดูแลแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียงพร้อมกับการป้องกันไม่ให้ลุกลามและติดเชื้อ!
การดูแลแผลกดทับ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีแผลลึกมากน้อยเพียงใด ซึ่งแผลกดทับสามารถรักษาได้ หากผิวหนังที่ยังไม่เปิดออกหรือเรียกว่าเป็นแผลกดทับแบบปิด โดยเบื้องต้นให้ทำการล้างแผลน้ำเกลือหรือน้ำสะอาด เพราะการทำแผลกดทับต้องดูแลให้สะอาด เพราะจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและลุกลาม หากใครที่อยากรู้ว่าแผลกดทับคืออะไร วิธีการดูแลแผลกดทับสามารถดูแลรักษาได้อย่างไร สามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ ถ้าอยากรู้ก็ตามไปดูกันเลย
แผลกดทับ อาการเป็นอย่างไร
แผลกดทับ คือ การที่ผิวหนังบริเวณเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังถูกทำลาย โดยเฉพาะบริเวณเหนือปุ่ม กระดูก ซึ่งเกิดจากความรุนแรงของแรงกดหรือการถูกกดทับเป็นระยะเวลานาน ทำให้เนื้อเยื่อทนต่อแรงกดและแรงไถลไม่ได้ และระบบไหลเวียนของเลือดไม่สามารถลำเลียงไปเลี้ยงยังส่วนต่าง ๆ ได้ ผิวหนังจึงเกิดการฉีกขาด เกิดรอยแดงเฉพาะที่ ซึ่งเป็นอาการแสดงเริ่มแรก และเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีผิว หากมีอาการรุนแรงขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีแดงช้ำ ซึ่งเรียกว่าเป็นแผลกดทับชนิดบาดเจ็บเนื้อเยื่อชั้นลึก
สาเหตุของอาการแผลกดทับแผลกดทับ คืออะไร
แผลกดทับมีสาเหตุมาจากการเสียดสีตรงบริเวณผิวหนังกับเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอน หรือเกิดจากการพลิกตัวผู้ป่วยไม่ถูกวิธี เช่น การลากหรือดึงที่ทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยเกิดการเสียดสีหรือมีแรงเฉือนและทำให้เกิดแผลกดทับได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวหนังอับชื้น ซึ่งความชื้นเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับ ทั้งการปล่อยให้ผ้าปูที่นอนมีความชื้น เพราะการดูแลแผลกดทับของผู้ป่วยไม่ดี จะส่งผลเสียต่อผิวหนังของผู้ป่วย และถ้าหากผิวหนังของผู้ป่วยสัมผัสกับความชื้นเป็นระยะเวลานาน ผิวหนังจะค่อย ๆ เกิดการเสื่อมสภาพและทำให้เกิดเป็นแผลกดทับได้ในที่สุด
แผลกดทับดูแลอย่างไร?
การดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ จะขึ้นอยู่กับขนาดของแผลว่ามีความลึกมากน้อยเพียงใด โดยมีวิธีดูแลรักษาแผลกดทับ ดังนี้
1. วิธีดูแลรักษาแผลกดทับ
การดูแลแผลกดทับ เริ่มต้นโดยการพลิกตัวให้กับผู้ป่วยติดเตียงทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีการกดทับบริเวณนั้น ๆ มากจนเกินไป หรืออาจจะสลับให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ นอนหงาย และนอนตะแคง โดยใช้หมอนรองบริเวณปุ่มกระดูก ซึ่งเป็นบริเวณที่มักจะเกิดแผลกดทับ และที่สำคัญ หากผู้ป่วยที่มีแผลกดทับอยู่แล้วควรดูแลและทำความสะอาดแผลอย่างเป็นประจำ เพราะแผลกดทับสามารถทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ง่าย เพื่อไม่ให้แผลติดเชื้อแบคทีเรีย หาก แผลกดทับชนิดที่ไม่รุนแรงสามารถใช้น้ำเกลือเช็ดทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ แผล หรือหากมีแผลที่เป็นโพรงลึก จะต้องใช้การฉีดล้างจากกระบอกฉีดยาที่บรรจุน้ำเกลือฉีดล้างทำความสะอาด และล้างจนกว่าน้ำเกลือจะใส และทำการปิดแผลไม่ให้เชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกเข้าไปได้ และหากผู้ป่วยที่มีแผลลึก มีกลิ่นเหม็น หรือมีหนองไหล จะต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด
2. การดูแลป้องกันแผลกดทับ
การดูแลแผลกดทับ ไม่ให้ ลุกลาม สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการเปลี่ยนหรือจัดท่านอนผู้ป่วยติดเตียงบ่อย ๆ และควรเปลี่ยนผ้าปูที่นอนเพื่อลดความอับชื้น จึงจะช่วยลดแรงกดทับได้ดีในระดับหนึ่ง โดยการเปลี่ยนท่านอน จะช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือด เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วย และควรใช้หมอนหรือเบาะที่มีความนุ่มรองบริเวณปุ่มกระดูกที่มีการกดทับเป็นระยะเวลานาน ๆ เพื่อช่วยลดแรงกดทับและช่วยกระจายน้ำหนักไปยังส่วนอื่นได้
แผลกดทับ การรักษาที่ถูกวิธี
หากผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับ ควรดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาดและแห้ง ไม่ทำให้ผิวหนังอับชื้น เพราะถ้าหากผิวหนังมีความเปียกชื้นจะทำให้เกิดแผลเปื่อยหรือผิวหนังมีการถลอกง่าย หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีผิวหนังแห้งหรือแตกเป็นขุย ควรดูแลในเรื่องของการทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนัง และที่สำคัญควรดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อและหลอดเลือดมีการไหลเวียนได้ดี หรือหากผู้ป่วยที่มีอาการของแผลกดทับอยู่แล้ว ควรหายารักษาแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียง มาใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล เพื่อช่วยบรรเทาและช่วยสมานแผลให้หายได้
ระดับแผลกดทับมีกี่ระดับ
อาการของแผลกดทับมีทั้งหมด 4 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 – จะเริ่มเป็นรอยแดงหรือรอยช้ำบนผิวหนัง และยังไม่มีการฉีกขาดของแผล ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีแค่อาการเจ็บและระคายเคืองเท่านั้น
ระดับที่ 2 – ผิวหนังเริ่มมีการเปิดออกจนเกิดการพุพอง มีหนอง เนื่องจากหนังกำพร้าและหนังแท้ได้ถูกทำลาย และจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บที่แผลมากขึ้น
ระดับที่ 3 – แผลที่ถูกกดทับจะมีลักษณะเป็นโพรงลึกไปจนถึงชั้นไขมัน เนื่องจากผิวหนังทุกชั้นหลุดลอก รวมทั้งเนื้อเยื่อถูกทำลาย
ระดับที่ 4 – เป็นระยะที่แผลกดทับถึงกระดูก เกิดจากการที่ผิวหนังถูกทำลายอย่างรุนแรง เนื้อเยื่อตายถึงขั้นที่กล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ลึกลงไปถูกทำลายไปด้วย
แผลกดทับหากเกิดกับผู้ป่วยติดเตียงแล้วนั้น จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และหากดูแลแผลกดทับไม่ถูกวิธี อาจทำให้แผลถึงขึ้นติดเชื้อได้ ดังนั้นหากใครอยากมีผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน สามารถให้ทาง asianursinghome เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ให้บริการด้วยความรู้และความสามารถ หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร 084 458 4591 หรืออีเมล asianursinghome@gmail.com หรือเข้าไปที่ Facebook Asia Nursinghome ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แผลกดทับควรกินอะไร
ควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีน เพราะการมีปริมาณโปรตีนที่เพียงพอจะช่วยให้แผลกดทับหายเร็วขึ้น และควรทานวิตามินซีเพื่ออัตราการหายของแผลกดทับ
แผลกดทับหายกี่วัน
แผลกดทับทั้ง 4 ระดับนั้น สามารถรักษาให้หายได้ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน หรือน้อยกว่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแผลกดทับของผู้ป่วยด้วย