ทำความรู้จัก โรคพาร์กินสัน คืออะไร ภัยร้ายต่อผู้สูงอายุที่ไม่ควรมองข้าม!

โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่มาจากความเสื่อมของระบบประสาทและสมอง โดยจะทำให้อาการของผู้ที่เป็นแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด และยังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งโรคพาร์กินสันมักพบได้ในผู้สูงอายุ หากใครที่มีผู้สูงอายุที่บ้าน ควรพาไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

โรคพาร์กินสัน คืออะไร?

โรคพาร์กินสัน คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมอย่างช้า ๆ ของระบบประสาทและสมองบริเวณสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นสมองส่วนที่สร้างสารสื่อประสาทที่มีหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือเรียกว่า โดปามีน (Dopamine) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่หากเกิดการสูญเสียหรือเกิดความผิดปกติ จะทำให้สมองเกิดการเสียสมดุล ส่งผลให้การเคลื่อนไหวมีความผิดปกติ และโรคนี้ยังสามารถพบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งส่วนใหญ่โรคพาร์กินสันจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อาจมีความร้ายแรงถึงขั้นทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต 

โรคพาร์กินสัน อาการเป็นอย่างไร?

พาร์กินสัน อาการเริ่มต้น จะมีอาการสั่นต่อเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขน ขา และลำตัว โดยอาการจะเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น หลังเริ่มงอจนทำให้เดินตัวโก่ง เคลื่อนไหวช้าขึ้น การทรงตัวผิดปกติ หกล้มง่าย หรือลุกเดินลำบาก ทำให้ผู้ป่วยเริ่มไม่ค่อยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น ผู้ป่วยจะมีกล้ามเนื้อที่เเข็งและเกร็งจนเคลื่อนไหวหรือขยับไม่ค่อยได้ บางรายมือ เท้าหงิกงอ ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ

สาเหตุของปัจจัยโรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคพาร์กินสันเกิดจากการที่ได้รับสารเคมีจากการสูดดมอย่างเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือการรับประทานที่มีสารบางชนิด หรือสาเหตุที่มาจากระดับของโดพาร์มีน (Dopamine) เริ่มลดลง ซึ่งมีผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดการเสื่อมของระบบประสาท และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นมายังบริเวณก้านสมองส่วนล่าง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสั่นและเคลื่อนไหวได้ช้าลง และผู้ป่วยบางรายถึงกับนอนละเมอ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร

โรคพาร์กินสันกับผู้สูงอายุที่มักพบเจอได้บ่อย

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ช่วงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มักพบเจอได้บ่อยที่สุด เพราะด้วยความชราภาพหรือการเสื่อมของสมอง ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนลดลง จึงทำให้เคลื่อนไหวของร่างกายมีความผิดปกติ จึงเกิดการสูญเสียสารเคมีในสมองไป ส่งผลให้สมองเสียสมดุล ในปัจจุบันโดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการทางระบบสมองอย่างชัดเจน เช่น จะมีอาการสั่นมาก ๆ เวลาที่อยู่นิ่ง แต่หากมีการเคลื่อนไหวอาการสั่นจะลดลงหรือหายไป โดยอาการเคลื่อนไหวช้าและสูญเสียการทรงตัวในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันระยะแรก ๆ จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวที่ช้าลง ไม่กระฉับกระเฉง หกล้มผู้ป่วยบางรายอาจเดินเองไม่ได้ จึงจำเป็นต้องใช้ไม้เท้าหรือมีคนคอยพยุง

วิธีการป้องกันและรักษาโรคพาร์กินสัน 

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน การดูแลเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงควรมีคนดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และสามารถใช้วิธีการป้องกันและรักษาได้ดังนี้

1. โรคพาร์กินสัน วิธีป้องกัน

ควรหลีกเลี่ยงการชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่เครียด และควรหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ และที่สำคัญควรเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักอนามัย หรืออาหารที่มีสรรพคุณช่วยในการบำรุงสมอง เช่น ปลา ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ช็อกโกแลต แอปเปิล ผักใบเขียว แครอท หรือพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

2. โรคพาร์กินสัน วิธีรักษา

รักษาด้วยวิธีการทานยา ซึ่งวิธีนี้จะใช้เป็นกลุ่มยาที่ช่วยบรรเทาอาการ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลา และการจะใช้ยาแต่ละชนิดนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับแพทย์เท่านั้น หรืออาจรักษาด้วยกายภาพบำบัด ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูและสามารถทรงตัวพร้อมกับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดคอ ปวดหลัง หลังโก่ง เป็นต้น

หากใครที่มีผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสันและไม่มีเวลาดูแลท่าน สามารถให้ทาง asianursinghome เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลที่ดี ด้วยความใส่ใจและบริการอย่างน่าประทับใจ จะช่วยให้เพิ่มความไว้วางใจได้ดียิ่งขึ้น หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร 084 458 4591 หรืออีเมล asianursinghome@gmail.com หรือเข้าไปที่ Facebook Asia Nursinghome ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

พาร์กินสัน ไม่ควรกินอะไร

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันไม่ควรทานอาหารที่มีรสจัด ไม่ว่าจะเป็น รสเปรี้ยว เค็ม หวาน หรือเผ็ดมากจนเกินไป และไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และควรหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท(เฉพาะตอนทานยา) เช่น อาหารประเภทโปรตีน เพราะโปรตีนจะเข้าไปรบกวนการดูดซึมของยา ส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้

โรคพาร์กินสัน รักษาหายไหม

โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมอย่างช้า ๆ ของสมอง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะการเสื่อมของสมองตามความชราภาพไม่สามารถรักษาได้ เพียงแต่มีวิธีป้องกันและรักษาประคองอาการไม่ให้เป็นหนักและรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้วิธีชะลออาการของโรคพาร์กินสัน เช่นการดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือหากผู้ป่วยที่มีอาการอยู่แล้ว สามารถทำรักษาโดยการกายภาพบำบัดเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้กลับมาใช้งานได้อย่างใกล้เคียงปกติมากที่สุด

Similar Posts