โรคกระดูกพรุนเกิดจากอะไร? สาเหตุและอาการที่ไม่ควรมองข้าม!

ปัญหาของโรคกระดูกพรุนมักเป็นภัยเงียบที่เกิดจากการสะสมในร่างกาย โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีสัญญาณเตือน หรือบางภาวะมักจะเจอในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งวัยนี้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีปริมาณลดลง ส่งผลให้กระดูกสลายตัวและเสื่อมลง บางคนอาจคิดว่าอาจเป็นแค่การสูญเสียแคลเซียมเพราะโรคนี้จะไม่ได้มีความเจ็บปวดจากกระดูกแต่อย่างใด หากใครที่อยากรู้แล้วว่าโรคกระดูกพรุนมีความอันตรายขนาดไหน ตามไปชมกันในบทความนี้กันเลย

โรคกระดูกพรุนคืออะไร

โรคกระดูกพรุนคือโรคที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อยลง เนื่องจากการสูญเสียมวลกระดูกเป็นอย่างมาก จึงส่งผลให้กระดูกมีความเปราะบางและไม่สามารถที่จะรับน้ำหนักมาก ๆ ได้ดังเดิม ทำให้เกิดการแตกหรือหักตามมา ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้จะเกิดกับวัยกลางคนและผู้สูงอายุ  สังเกตง่าย ๆ จากผู้สูงอายุที่มีส่วนสูงที่ลดลง ซึ่งกระดูกพรุนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเนื่องจากมวลกระดูกผุและกร่อน และยังทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักอีกด้วย

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน เกิดจากอะไร

ภาวะโรคกระดูกพรุนเกิดจากสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

1. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือนจะทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีปริมาณลดลง จึงเกิดการสูญเสียมวลกระดูกหรือกระดูกเกิดการสลายตัว

2. ผู้สูงอายุ

เมื่อมีอายุมากขึ้น จะมีการสลายตัวของกระดูกมากกว่าการสร้างมวลกระดูกขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้มวลกระดูกค่อย ๆ ลดลงจนสลายไปอย่างเห็นได้

3. ภาวะอื่น ๆ

ภาวะโรคกระดูกพรุนอาจมาจากสาเหตุอื่นแอบแฝง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับเรื้อรัง ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง โรคไตวายเรื้อรัง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น เนื่องจากโรคดังกล่าวต้องรับประทานยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก หรือผู้ป่วยที่มีภาวะการขาดสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อกระดูก และยังพบมากในผู้ป่วยที่มีการสูบบุหรี่จัด หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณมาก

อาการของโรคกระดูกพรุน

ช่วงแรก ๆ ของโรคกระดูกพรุน จะไม่แสดงอาการ แต่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยการวัดส่วนสูง หากผู้สูงอายุท่านใดมีส่วนสูงที่เริ่มลดลง  มีอาการหลังค่อม ปวดลึก ๆ ที่กระดูก จนทำให้เกิดระยะรุนแรง  โดยกระดูกของผู้ป่วยจะมีความบอบบาง จนส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการหักยุบ หรือกระดูกบริเวณสะโพกหัก ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง หลังค่อม จนบางครั้งอาจทำให้เกิดการปวดหลังและร้าวมาที่บริเวณหน้าอก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้แก่

1. กรรมพันธุ์ โดยเกิดจากคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน

2. ผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้กระบวนการเสริมสร้างกระดูกมีความถดถอยลง ทำให้ร่างกายขาดแคลเซียมที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก

3. ความผิดปกติของระบบในร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และตับ หรือต่อมพาราไทรอยด์ มีการทำงานที่ผิดปกติ

4. ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิงลดลง เนื่องจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้กระดูกพรุนและเปราะบาง

การรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

การรักษาโรคกระดูกพรุนมีวิธีรักษา โดยการวินิจฉัยจากแพทย์ และทำการประเมินเพื่อวางแผนการรักษาและหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล แต่เป้าหมายและจุดประสงค์หลักของการรักษาคือการลดความเสี่ยงกระดูกหัก ซึ่งการรักษาภาวะโรคกระดูกพรุน สามารถทำได้ดังนี้

  1. ให้ผู้ป่วยรับประทานแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน และต้องทานในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงอายุ
  2. ใช้ยาที่ช่วยลดการสลายของกระดูก ซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน และชนิดฉีด แต่ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์วินิจฉัย
  3. ใช้ยากระตุ้นการสร้างกระดูก โดยจะทำการฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนังทุกวัน หรือทุกเดือน และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

ข้อควรระวังและการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

หากใครที่ไม่อยากเป็นโรคกระดูกพรุนควรระวังการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนี้

1. โรคกระดูกพรุน ข้อควรระวัง

  • ควรระวังการใช้ยาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากจะทำให้มวลกระดูกบางลง เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์
  • การขาดสารอาหาร หรือได้รับสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เพราะสารอาหารบางชนิดมีความจำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก เช่น แคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่ หรือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน ด้วยตัวทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูก และทำให้กระดูกเปราะบางลง

2. โรคกระดูกพรุน การป้องกัน

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดี ควรออกกำลังอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้ง เพื่อช่วยลดการสลายของแคลเซียม หรือป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการหกล้ม หรือรับประทานอาหารเสริมเพื่อป้องกันกระดูกพรุน เช่น แคลเซียม ผักใบเขียว นม ปลาตัวเล็ก ๆ กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ เป็นต้น

ผู้สูงอายุบางท่านไม่ทราบว่าตนเองเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เพราะโรคดังกล่าวไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น ดังนั้นการดูแลตัวเองในช่วงวัยชราจะต้องดูแลและเอาใจใส่เป็นพิเศษ หรือหากผู้สูงอายุท่านใดต้องการปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ที่อาจแทรกซ้อนเข้ามา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ asianursinghome เพราะที่นี่คือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากมาย หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร 084 458 4591 หรืออีเมล asianursinghome@gmail.com หรือเข้าไปที่ Facebook Asia Nursinghome ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

โรคกระดูกพรุน ขาดวิตามินอะไร

ภาวะขาดวิตามินดีและแคลเซียม ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุน ควรรับประทานอาหารชนิดใด

ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีเป็นหลัก เช่น เต้าหู้ ปลาตัวเล็ก กุ้งฝอย ผักกระเฉด ผักค้านะ ตำลึง ตับ ไข่แดง เป็นต้น

โรคกระดูกพรุนมีกี่ระยะ

โรคกระดูกพรุนแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
1. ระยะเริ่มต้น มวลกระดูกค่อย ๆ ลดลง และมักเกิดกับผู้หญิงที่เริ่มหมดประจำเดือน
2. ระยะที่รุนแรง โดยมีอาการกระดูกเปราะบางร่วมกับกระดูกสันหลังหักหรือยุบตัวลง โดยสังเกตได้จากผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง หลังค่อม หรือผู้สูงอายุที่มีส่วนสูงลดลง ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

Similar Posts