How to ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในแบบฉบับพยาบาลวิชาชีพ
วันนี้บทความของเราจะมาช่วยทุกคนเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน โรงพยาบาล หรือที่ใดก็สามารถนำวิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงในบทความไปใช้ได้จริง โดยในส่วนเริ่มต้นเราจะให้ข้อมูลความรู้ก่อนว่าสาเหตุผู้ป่วยติดเตียงมาจากอะไร ผู้ป่วยติดเตียง อาการเป็นอย่างไร ผู้ป่วยติดเตียง มีกี่ประเภท และปัญหาผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ต้องพบเจอกับอะไร ผู้ป่วยติดเตียงการดูแลแบบไหนควรทำ และผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรต้องระมัดระวังอะไรบ้าง วันนี้เรามาเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงไปพร้อมกัน
รู้หรือไม่!? ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยในลักษณะใด
ผู้ป่วยติดเตียง ภาษาอังกฤษ bedridden patients ทางการแพทย์ได้ให้คำนิยามว่าผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยที่มีสภาวะร่างกายเสื่อมโทรมและต้องตกอยู่ในภาวะที่จำเป็นจะต้องนอนบนเตียงตลอดเวลา แม้ว่าอาจขยับตัวได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือช่วยเองได้
ที่มาและสาเหตุผู้ป่วยติดเตียง
สำหรับสาเหตุที่ทำให้คนที่มีร่างกายปกติกลายมาเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้นสามารถเกิดมาได้จากหลายปัจจัย ยกตัวอย่าง เช่น
- การประสบอุบัติเหตุ อาทิ รถชน หรือจากการใช้เครื่องจักรในการทำงานต่างๆ
- การผ่าตัดใหญ่ จนอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทในร่างกาย
- โรคประจำตัว ที่อาจส่งผลให้ร่างกายทรุดลง
ผู้ป่วยติดเตียงมีกี่ประเภท
ผู้ป่วยติดเตียงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ได้ ดังนี้
1. ผู้ป่วยติดเตียงที่ยังคงรู้สึกตัว แต่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ผู้ป่วยติดเตียงประเภทนี้ ยังมีความสามารถในการขยับตัว เคลื่อนไหวได้บ้างเล็กน้อย แต่จำเป็นจะต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่นอย่างเต็มรูปแบบ 100%
2. ผู้ป่วยติดเตียงที่สูญเสียความรู้สึกทางกาย (เจ้าหญิงนิทรา)
ผู้ป่วยติดเตียงประเภทนี้ ถือเป็นผู้ป่วยติดเตียงอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ จำเป็นจะต้องพึ่งพาผู้อื่นอย่างเต็มรูปแบบ 100%
ผู้ป่วยติดเตียง อาการที่มักจะต้องพบเจอ
ผู้ป่วยติดเตียง อาการมักตกอยู่ในภาวะ Deliruim เป็นภาวะสับสน เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงจะมีภาวะสมองเสื่อม หรืออาจเคยเป็นผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบมาก่อน มีผลต่อเนื่องมาทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ทำให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้
- ด้านอารมณ์ อาจโมโห หงุดหงิดได้ง่าย ในบางคนอาจมีอาการก้าวร้าวขึ้น
- ด้านความคิด อาจมีอาการขี้หลงขี้ลืม ไม่สามารถจำวันเวลาได้ หรือถามคำถามเดิมบ่อย ๆ
- อื่น ๆ อาทิ อาจมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม บางครั้งพูดคนเดียว หรืออาจมีอาหารหูแว่ว เห็นภาพหลอน ซึ่งเป็นอาการทางสมองที่ตัวผู้ป่วยเองไม่ได้ตั้งใจที่จะแสดงออกมาเช่นนั้น ดังนั้นจึงต้องการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีความเข้าใจและรู้วิธีดูแลรับมืออย่างถูกต้อง
How to ดูแลผู้ป่วยติดเตียง คนเดียวก็สามารถทำได้
เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าผู้ป่วยติดเตียง การดูแลในแบบฉบับพยาบาลวิชาชีพจะต้องทำอย่างไร วันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาให้ศึกษาและปฎิบัติตาม ดังนี้
วิธีการเช็ดตัวผู้ป่วยติดเตียง
เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่
- กะละมัง 2 ใบ
- ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน สำหรับแยกส่วนบนและล่าง
- ผ้าสำหรับซับแห้ง 2 ผืน
- เสื้อผ้าชุดใหม่
- ผ้าคลุมตัว
ขั้นตอน มีดังนี้
1. ประเมินสภาพอาการผู้ป่วยติดเตียง และบอกให้ทราบว่ากำลังจะเช็ดตัวให้
2. ตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อม ปิดแอร์ ปิดม่านใทำห้สถานที่มีความมิดชิด
3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องล้างมือของตนเองให้สะอาด
4. ใช้ผ้าคลุมลำตัวถึงลำคอ แล้วจึงถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก กรณีที่ผู้ป่วยมีแผลบาดเจ็บแขนด้านใด ให้ถอดเสื้อผ้าแขนด้านที่ไม่มีแผลออกก่อน
5. ทำความสะอาดช่องปากแและฟัน ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถทำได้เอง โดยใช้ผ้าก็อตพันนิ้วเพื่อใช้ทำความสะอาดช่องปากให้ผู้ป่วย
6. เริ่มเช็ดด้วยโดยใช้น้ำในอุณหภูมิห้องใส่ ⅔ ของกะละมัง แล้วจึงใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ถ้าผ้าผืนใหญ่ก็เอามาเก็บชาย เพื่อไม่ให้โดนตัว
7. เริ่มเช็ดตัวผู้ป่วยจากใบหน้าลงมาลำคอ แล้วจึงเช็ดตัวบริเวณส่วนบน ผ่านการเปิดผ้าคลุมเฉพาะส่วน เช็ดบริเวณหน้าอก ลงมาช่วงท้อง เช็ดแขนฝั่งไกลตัวเข้ามาหาใกล้ตัว เพื่อไม่ให้นน้ำหยดลงบนแขนฝั่งที่เช็ดแล้ว
8. เช็ดตัวบริเวณส่วนล่าง เช็ดขาด้านไกลตัวมาใกล้ตัว
9. เช็ดทำความสะอาดอวัยเพศ หากเป็นผู้หญิงเน้นการเปิดจุดซ่อนเร้น
10. เช็ดตัวบริเวณด้านหลัง โดยการตะแคงตัวผู้ป่วยเข้าหาผู้ดูแล การเช็ดเริ่มจากลำคอลงมาแผ่นหลังและสะโพก เสร็จแล้วจึงเช็ดขาด้านหลัง
11. เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ และอาจเปลี่ยนผ้าปูที่นอนใหม่ตามความเหมาะสม
วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงถ่ายบ่อย
ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
จัดชุดจานชามแยกให้มิดชิด
เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยติดเตียงท้องเสีย จะต้องป้องกันดูแลความสะอาดมากกว่าคนปกติไม่ว่าเป็นการให้อาหารทางปากหรือสายยาง
ดูแลไม่ให้ขาดน้ำ ขาดเกลือแร่
เพื่อป้องกันภาวะช็อกที่เกิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ผู้ดูแลควรดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำ 2 – 2.5 ลิตร ตลอดจนชงเกลือแร่ให้ผู้ป่วยดื่ม เพื่อชดเชยน้ำที่ออกมาจากอุจจาระ
ดูแลไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาถ่ายหรือยาเหน็บในผู้ป่วยที่ท้องผูก และดูแลให้ร่างกายได้รับอาหารที่มีกากใยสูง อาทิ ผักกาด, ผลไม้ มะละกอสุก
ดูแลเช็ดทำความสะอาดให้ถูกสุขลักษณะ
เนื่องจากอุจจาระ ปัสสาวะอาจกัดเนื้อผิวหนังผู้ป่วย ทำให้เกิดโอกาสที่จะเป็นแผลกดทับบริเวณก้นได้ จึงควรเช็ดทำความสะอาดอย่างดี
วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง ท้องบวม
สาเหตุ
ผู้ป่วยติดเตียง ท้องบวม ท้องป่อง แล้วมีเสียงดัง สาเหตุมาจากอาการท้องผูก ไม่ถ่ายอุจจาระติดต่อกันหลายวัน เนื่องจากการขยับตัวเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ ทำให้ลำไส้ไม่ได้บีบตัว และสาเหตุอาจมาจากการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ทำให้ร่างกายได้รับน้ำน้อย หรือเกิดความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ในร่างกายจึงจำเป็นที่จะต้องรีบแก้ไข
วิธีดูแล
- ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะต้องให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ลิตร
- ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอาจปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาถ่ายหรือยาเหน็บ
- ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอาจต้องพาผู้ป่วยไปหาหมอโดยไว ถ้ายังพบว่าผู้ป่วยไม่ถ่าย และมีก้อนภายในท้อง หรือท้องป่องกว่าปกติ
สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง
ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงที่พบ มักพบปัญหาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยและปัญหาในผู้ดูแล ซึ่งอาจมีความเครียด วิตกกังวล สภาพร่างกายไม่ไหว ต้องแบกรับภาระหนัก ไม่มีคนคอยช่วยเหลือ ตลอดจนปัญหาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการซื้อสิ่งของอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้นจำเป็นจะต้องรู้และระมัดระวังสิ่งต่อไปนี้
1. ระมัดระวังเรื่องการแบ่งหน้าที่
อย่าให้หน้าที่ผู้ดูแลผู้แลผู้ป่วยติดเตียงเป็นของใครคนใดคนหนึ่งตลอดเวลา ควรแบ่งหน้าที่ให้คนในครอบครัวมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ว่าเรื่องค่าใช้จ่ายหรือการพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ หากมีงบประมาณก็อาจจ้างผู้ดูแลชั่วคราวได้ เพื่อให้ตนเองสามารถมีเวลาไปพักผ่อนหรือทำธุระส่วนตัวได้บ้าง
2. ระมัดระวังเรื่องสภาพจิตใจของผู้ป่วยติดเตียง
ผู้ดูแลผู้แลผู้ป่วยติดเตียงจะต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ป่วยติดเตียงที่ยังรับรู้เข้าใจ แต่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือได้น้อย ผู้ดูแลจะต้องมีการพูดคุยให้เข้าใจสภาพปัญหาผ่านการให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียงอย่างสม่ำเสมอ และช่วยลดความเครียดที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตัวผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลเอง อาจฟังเพลง ฟังธรรมะเพื่อผ่อนคลาย
3. ระมัดระวังภาวะแทรกซ้อน
ผู้ดูแลผู้แลผู้ป่วยติดเตียงจะต้องดูแลในเรื่องของแผลกดทับ การสำลักอาหาร ข้อติด กล้ามเนื้อลีบฝ่อ
นอกจากนี้ควรประสานความช่วยเหลือไปยังอสม. หรือหน่วยงานพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขใกล้บ้าน เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินหรือการรักษาตามนัด และอย่างที่กล่าวไปในเบื้องต้นว่า แม้ญาติเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเอง แต่บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลก็จำเป็นที่จะต้องมีเวลาส่วนตัวเป็นของตนเอง
ดังนั้นวิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง อาจทำได้โดยการเลือกใช้ Asia Nuring Home เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2015 มีการให้บริการครบวงจร ผ่านทีมงานที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี อีกทั้งยังมีสาขาให้เลือกใช้บริการอย่างสะดวกทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอดจนเรื่องของความปลอดภัยทางศูนย์มีรถพยาบาลพร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมอบหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้อยู่ในความดูแล
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ผู้ป่วยติดเตียงต้องการอะไร
เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงต้องการการเฝ้าระวังเป็นพิเศษในเรื่องของการดูแลสุขภาพตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน การทำความสะอาดร่างกาย การทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการตรวจสุขภาพ ดังนั้นผู้ป่วยติดเตียงจึงต้องการผู้ดูแลที่มีความใส่ใจ หากไม่ใช่ญาติที่ใกล้ชิดแล้ว การเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงที่ดีจึงควรเลือกสถานที่ประกอบกิจการดูแลที่ดี มีรางวัลการันตีอย่าง Asia Nuring Home