ทำความรู้จักสัญญาณชีพ Pulse คืออะไร ทำไมทุกคนต้องรู้! และวิธีการวัดสัญญาณ

Pulse หรือ ชีพจร เป็นหนึ่งใน 4 สัญญาณชีพที่ใช้ตรวจความผิดปกติของร่างกายเบื้องต้น โดยค่า Pulse จะบ่งบอกถึงอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งสามารถสะท้อนถึงความผิดปกติในร่างกายที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ ทุกคนจึงควรรู้จักการวัดค่า Pulse ที่ถูกต้อง เพราะนอกจากจะใช้ประเมินสุขภาพเบื้องต้นของตัวเองได้แล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยที่พบเจอ ให้ได้รับการรักษาหรือกู้ชีพได้ทันเวลา บทความนี้จะมาให้ความรู้ว่าการจับชีพจรที่ถูกต้องควรทำอย่างไร และจะสามารถจับในตำแหน่งใดได้บ้าง

สัญญาณ Pulse คืออะไร

สัญญาณ Pulse คือ อัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย จะทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการขยายตัวเป็นจังหวะเดียวกับหัวใจ จึงสามารถบ่งบอกถึงความแข็งแรงสมบูรณ์หรือความผิดปกติของหัวใจได้ ทั้งนี้ค่า Pulse ที่วัดได้จะไม่เท่ากันในแต่ละคน และแม้จะเป็นคนเดียวกันค่า Pulse ที่วัดได้ก็จะไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ไลฟ์สไตล์ กิจกรรมที่ทำ ยาที่รับประทาน ท่าทางขณะวัด อารมณ์ ความเครียด การพักผ่อน การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

 สัญญาณชีพ Pulse ปกติเท่าไหร่

ค่า Pulse ปกติของวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่ในขณะพัก จะอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่หากเป็นช่วงที่มีการทำกิจกรรม เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ค่า Pulse ก็จะสูงกว่า 100 เป็นปกติ นอกจากนี้นักกีฬาที่มีการฝึกฝนเป็นประจำก็อาจมีค่า Pulse ในขณะพักที่ต่ำกว่า 60 ได้เช่นกัน ส่วนเด็กจะมีค่า Pulse เฉลี่ยสูงกว่าผู้ใหญ่ โดยในเด็กเล็กช่วงอายุ 1-2 ปี ค่า Pulse จะอยู่ที่ประมาณ 80-130 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อโตขึ้นค่า Pulse จะลดลงอยู่ที่ประมาณ 75-120 ครั้งต่อนาที 

ตำแหน่ง Pulse ที่ต้องรู้

ตำแหน่งที่ใช้คลำชีพจร คือบริเวณที่หลอดเลือดแดงอยู่ใกล้ผิวหนังมากที่สุด เพราะโดยปกติแล้วหลอดเลือดแดงจะอยู่ลึก ทำให้ไม่สามารถสัมผัสถึงการขยายตัวของหลอดเลือดได้ มีเฉพาะบางจุดในร่างกายเท่านั้น ซึ่งตำแหน่งอาจส่งผลต่อความยากง่ายในการจับชีพจร แต่ค่าที่ได้ควรออกมาใกล้เคียงกัน โดยสามารถคลำหาชีพจรได้ตามจุดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. radial Pulse

คือบริเวณข้อมือฝั่งด้านใน หรือด้านที่หงายฝ่ามือขึ้น เป็นตำแหน่งที่นิยมใช้จับชีพจรมากที่สุด  เพราะเป็นจุดที่จับชีพจรได้ง่าย สะดวกทั้งสำหรับการจับชีพจรเอง และเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นการรบกวนผู้ป่วย

2. dorsalis pedis Pulse

อยู่บริเวณหลังเท้า ช่วงกลางเท้าระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ การจับชีพจรจุดนี้จะช่วยประเมินการทำงานของหลอดเลือดแดงส่วนปลายได้ด้วย

3. carotid Pulse

อยู่ด้านข้างของลำคอ บริเวณมุมขากรรไกรล่าง เป็นตำแหน่งของเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง เป็นอีกหนึ่งจุดที่จับชีพจรได้ง่าย และให้ค่าที่ชัดเจน นิยมใช้ในการกู้ชีพ

4. Brachial artery

อยู่ด้านในกล้ามเนื้อ Biceps ที่บริเวณต้นแขน จุดนี้สัมผัสชีพจรได้ชัดเจนเช่นเดียวกัน แต่อาจจะคลำหาได้ยากในบางคน

5. Femoral Pulse

อยู่บริเวณกึ่งกลางของขาหนีบ ไม่ค่อยนิยม เพราะจับชีพจรได้ไม่สะดวก และอาจสร้างความไม่สบายใจให้ผู้ป่วย

6. Popliteal artery

อยู่ตรงกลางข้อพับเข่า เป็นจุดที่ไม่ค่อยนิยมเหมือนกัน เพราะคลำหาชีพจรได้ยาก และไม่สะดวกสำหรับผู้ป่วย

7. postterior tibia

อยู่บริเวณหลังตาตุ่มข้อเท้าด้านใน หากไม่รู้ตำแหน่งที่ชัดเจน ก็อาจจะคลำหาได้ยากสำหรับการวัดค่า Pulse ด้วยตัวเอง

วิธีวัดสัญญาณชีพ

การวัดสัญญาณชีพสามารถวัดได้จาก การคลำไปบนจุดที่หลอดเลือดแดงอยู่ใกล้ผิวหนัง บริเวณที่นิยมที่สุดคือ บริเวณข้อมือ โดยให้หงายฝ่ามือข้างหนึ่ง และใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างวางในแนวขวาง กดลงบนข้อมือเบา ๆ จนสัมผัสได้ถึงการเต้นของหลอดเลือด นับจำนวนครั้งพร้อมกับจับเวลาจนครบ 1 นาที ไม่ควรวัดแค่ 10-20 วินาทีแล้วคูณให้เท่า 60 วินาที เพราะตัวเลขที่ได้อาจไม่เท่ากัน

การวัดสัญญาณชีพของผู้ป่วยมีความสำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยประเมินสภาพผู้ป่วยได้แล้วนั้น ยังสามารถช่วยเตรียมความพร้อมต่อการรักษาอาการป่วยได้ง่ายยิ่งขึ้น และหากใครที่ไม่มีเวลาดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้าน สามารถปรึกษาศูนย์ดูแลผู้ป่วยกับทาง asianursinghome ได้เลยค่ะ เพราะที่นี่มีระบบการดูแลแบบครบครัน ซึ่งจะช่วยดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี เพราะเรามีด้วยทีมแพทย์และพยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่าง ๆ มากมาย หากใครสนใจสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 084 458 4591 หรืออีเมล asianursinghome@gmail.com หรือเข้าไปที่ Facebook Asia Nursinghome ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับค่า Pulse คืออะไร

การเต้นของหัวใจกับชีพจรสัมพันธ์กันอย่างไร

ชีพจร คืออัตราการเต้นของหัวใจ หากหัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป นั่นหมายความว่าการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายไม่ดีเท่าที่ควร และเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ ซึ่งควรได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม

Pulse กับ Heart Rate ต่างกันยังไง

โดยปกติแล้ว Pulse กับ Heart Rate ไม่ต่างกัน เพราะ Pulse คือการจับชีพจรบริเวณหลอดเลือด ซึ่งจะมีการขยายเป็นจังหวะตามการบีบตัวของหัวใจห้องล่างด้านซ้าย ผลที่ได้จึงเท่ากับค่าอัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Heart Rate ทั้งนี้บางคนอาจมีค่า Pulse และ Heart Rate ไม่เท่ากันเนื่องจากความผิดปกติบางอย่าง เช่น ภาวะ PEA (Pulseless Electrical Activity) เป็นภาวะที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่กล้ามเนื้อหัวใจไม่มีแรงพอที่จะสูบฉีดเลือด ทำให้คลำชีพจรไม่ได้

Similar Posts